หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประมง
(Bachelor of Science Program in Fisheries)
1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง)
Bachelor of Science (Fisheries)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (ประมง)
B.Sc. (Fisheries)
2. รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
3. ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรอบรู้ทางด้านทฤษฎี มีทักษะในด้านการประมง ตลอดจนมีคุณธรรมและจริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อชลทรัพยากร
4. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
4.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทย์-คณิต ศิลป์-คณิต หรือเทียบเท่า
4.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า สาขาวิชาพืชศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน
4.3 ทั้งข้อ 4.1 และข้อ 4.2 ต้องมีคุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 โดยมีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ดังนี้
- โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
5. วัตถุประสงค์
5.1 ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
5.2 ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และศึกษาต่อในระดับสูง
5.3 ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ และให้คิดเป็น ทำเป็น สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
5.4 ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นทีม สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
5.5 ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์
6. อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
6.1 นักวิชาการประมงในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
6.2 นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย งานในหน่วยงานของรัฐ
6.3 นักส่งเสริมและพัฒนาอาชีพประมง/เกี่ยวข้อง
6.4 ประกอบธุรกิจการประมงใน/ต่างประเทศ
6.5 ประกอบอาชีพส่วนตัว
ISCED Categories