Skip to main content
x

วิทยาศาสตรบัณฑิต (การประมง) (Bachelor of Science (Fisheries) )

Type
Bachelor (ISCED 2011 level 6)
Language

Thai

Duration 8 semesters
Cost 24000 Baht/Year

ประวัติคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาชีพเกษตรกรรม ผูกพันและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนไทยมาเนิ่นนานความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจในเวลาต่อมา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสัญญาณบอกเหตุ ุที่ทำให้การเกษตรแบบดั้งเดิมต้องเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันที่แน่นอนของอนาคต เมื่อทรัพยากรน้อยลง ประชากรที่มากขึ้น ผืนดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ ์เริ่มกลับให้ผลผลิตที่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ธรรมชาติกับภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดไม่เพียงพอ ที่จะพลิกฟื้น ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งเช่นในอดีตกลับมาได้อีกต่อไป เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องชี้นำสังคมเกษตรกรรมของภูมิภาคให้มีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภูมิภาค จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยกระแสความต้องการ อย่างยิ่งยวดท่ามกลางภารกิจที่ท้าทาย

พ.ศ. 2505 เมื่อคณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้เป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาภูมิภาค มีมติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้น และได้เลือกคณะวิชาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งศึกษาจากโครงสร้างความต้องการในการพัฒนา ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของคณะเกษตรศาสตร์ และ 2 ปีถัดมา เจตนารมย์ของการวางรากฐานการศึกษาและขยายโอกาสแก่ที่ห่างไกลเกิดเป็นรูปธรรม เมื่อนักศึกษารุ่นแรกของคณะเกษตรศาสตร์จำนวน 49 คน เข้ามาศึกษา จวบจน พ.ศ. 2510 วันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของสถาบันแห่งนี้ และยังเป็นภาพที่ผู้คนจำนวนมากได้รำลึงถึง เมื่อพสกนิกรชาวอีสานได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีขององค์เหนือหัวชาวไทยครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จ

พระนางเจ้าสิริกิต ิ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 10 ธันวาคม 2510 โดยใช้อาคารที่ทำการหลังแรกของคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างโดยรัฐบาลนิวซีแลนด์เป็นสถานที่ประกอบพิธี

ในฐานะของคณะวิชาที่มากกว่าการเป็นเพียงแหล่งวิชาความรู้ของผู้เข้ามาศึกษาเท่านั้น ยังได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งวิชาการของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม แก้ไขปัญหาทางการเกษตร พร้อมกับการแสวงหาความรู้เทคนิค วิธีสู่การพัฒนาอาชีพและสังคม ให้เจริญก้าวหน้า จากความรู้ความสามารถของบุคลากรซึ่งมีทั้งอาจารย์และข้าราชการ ผู้คอยสนับสนุนการทำงาน ที่ประสานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบปัจจุบันเรามีอาจารย์กว่า 113 คน ข้าราชการกว่า 78 คน และเปิดทำการสอนแก่นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่จำนวนมากกว่า 2,186 คน ในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชา สูงกว่าปริญญาตรีทั้งปริญญาโท 16 สาขาวิชา และปริญญาเอก 9 สาขาวิชาสามารถผลิตบัณฑิตสู่สังคมทั้งในภูมิภาค และที่อื่นๆ ในฐานะของคณะวิชา ที่มากกว่าการ เป็นเพียงแหล่งวิชาความรู้ของผู้เข้ามาศึกษาเท่านั้น ยังได้ทำหน้าที่เป็น แหล่งวิชาการของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ทางการเกษตร พร้อมกับการแสวงหาความรู้ เทคนิควิธี สู่การพัฒนาอาชีพและสังคมให้เจริญก้าวหน้า จากความรู้ความสามารถของบุคลากร ซึ่งมีทั้งอาจารย์และข้าราชการ ผู้คอยสนับสนุนการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบปัจจุบันเรามีอาจารย์ ์กว่า 113 คน ข้าราชการกว่า 78 คน และเปิดทำการสอนแก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่จำนวนมากกว่า 2,186 คน ในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชา สูงกว่าปริญญาตรีทั้งปริญญาโท 16 สาขาวิชา และ ปริญญาเอก 9 สาขาวิชาสามารถผลิตบัณฑิต
สู่สังคมทั้งในภูมิภาคและที่อื่นๆ ทั่วประเทศกว่า 5,500 คน

เพื่อให้การแบ่งภาระงานทางวิชาการมีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงแบ่งสายงานออกเป็น
ภาควิชาต่างๆ 5 ภาควิชา คือ

1. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร เป็นการรวม 5 สาขาวิชา เข้าด้วยกัน คือ สาขาวิชากีฏวิทยา เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับสัตว์ประเภท แมลง สาขาวิชาโรคพืชวิทยา หาความเกี่ยวพันกับระบบเกษตรกรรม ทั้งด้านศัตรูพืช การนำมาใช้ประโยชน์ การจัดการ การอนุรักษ์ การประยุกต์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ ค้นคว้าหาสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค ที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตร และหนทางการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ สาขาวิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงาน ที่มีบทบาทในการวิเคราะห์สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ เพื่อใช้ในการทำการเกษตร เรียนรู้นำ
เทคโนโลยีมาเพื่อจัดการแก้ไขปัญหา สภาพทรัพยากร สาขาวิชาพืชไร่ศึกษาค้นคว้าพืชไร่ การปรับปรุงพันธุ์เทคนิค วิธีการเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าการลงทุน ตลอดจนการศึกษาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สาขาวิชาพืชสวน ศึกษาจัดการระบบพืชสวน ส่งเสริมการบำรุงพันธุ์ และการขยายพันธุ์ ระบบการ จัดการผลผลิตของพืชสวนทุกชนิด 
2. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นในด้านการจัดการ ทรัพยากรเกษตร ทั้งใน ระบบธุรกิจ และระบบสหกรณ์ นำวิทยาการที่ใช้ วิเคราะห์การตลาดมาเพื่อประเมินผลตอบแทน ต่อเกษตรกรและผู้ผลผลิต
3 . ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร เป็นภาควิชาที่มีบทบาทสำคัญของระบบ เกษตรกรรมในปัจจุบัน เพื่อที่จะรับและถ่ายทอดเทคนิควิธีที่เหมาะสมผ่านสื่อต่างๆ ไปยังเกษตรกร ให้เกิดความรู้ ความสามารถ ในการผลิต
4 . ภาควิชาสัตวศาสตร์ ศึกษาค้นคว้าวิทยาการด้านการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยการบำรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ การดูแลเรียนรู้หลักโภชนศาสตร์เพื่อการเพิ่มผลผลิต ตลอดจนการจัดการผลผลิตและการแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงสัตว์
5 . ภาควิชาประมง เป็นการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยง ศึกษาสภาพแวดล้อมคุณภาพน้ำที่มีผลต่อสัตว์น้ำ

เพื่อให้ทุกภาควิชาสามารถทำงานได้ครบวงจร คือ การเรียนการสอน ที่เน้นการฝึกภาคปฏิบัติ การค้นคว้าวิจัยของคณาจารย์จากทุกสาขาวิชาการเกษตร ตลอดจนการทำหน้าที่เป็นแหล่งความรู้ของประชาชนที่
เข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรม จึงจัดให้มีหมวดงานไร่ ซึ่งเป็นเสมือนสนามฝึกงานกระจายออกไปตามลักษณะของภาควิชา 
นอกจากนี้คณะเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานด้านการทดลอง ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และเป็นการขยายผลงานด้านการเกษตรที่ทันสมัย ให้เป็นที่รู้จักของ ชุมชนภายนอก จึงมีการจัดตั้งสถานีฟาร์มฝึกนอกพื้นที่ มหาวิทยาลัย 2 แห่ง คือ สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม
เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับพืชผักและไม้เมืองหนาว เนื่องจากบริเวณที่ตั้งเป็นทำเลที่สวยงามและบรรยากาศร่มรื่น จึงได้จัดบริเวณเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน มีที่พักและห้องประชุม 
เพื่อการจัดฝึกอบรมได้อีกด้วย สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ ใช้เป็นที่ทดลองด้านการปศุสัตว์และการเกษตรด้านอื่นๆ

ในการจัดการศึกษา นักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นเบื้องต้นของทุกสาขาวิชา อันเป็นการปูพื้นฐาน ทางวิชาการ จนกว่าจะถึงหลักสูตรที่แต่ละคนเลือกเข้าสู่สาขาวิชาที่มีความสนใจ เมื่อถึงเวลานั้นผู้เรียนจะได้รับความรู้ ที่เข้มข้น ทั้งในชั้นเรียนและการฝึกปฏิบัติ โดยหลักสูตรการเรียนการสอนจะมีการพัฒนาให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพการณ์ ์ในปัจจุบัน นักศึกษาจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นประสบการณ์จริง ด้วยการฝึกทั้งในสถานประกอบการ แปลงเพาะปลูก ฟาร์มปศุสัตว์ อันเป็นความร่วมมือที่มาจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ซึ่งเล็งเห็นความ สำคัญของการศึกษา การเรียนการสอนได้มีการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ทันสมัยมาใช้ อุปกรณ์ เครื่องมือ ตำราต่างๆ เพียงพอที่นักศึกษา ใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า ภายใต้คำแนะนำจากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะ ผู้ถ่ายทอดความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อสังคม คณะเกษตรศาสตร์ ยังได้มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติแก่ นักศึกษาที่สนใจเข้าเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษอีกด้วย งานด้านการค้นคว้าวิจัยเป็นภารกิจด้านหนึ่ง ที่คณะเกษตรศาสตร์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในฐานะที่คณะเกษตรศาสตร์เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญของภูมิภาค และกำลังขยาย บทบาทออกไปสู่ต่างประเทศ จึงได้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยการวิจัย ส่วนใหญ่เพื่อการแก้ไขปัญหาการเกษตร และการแสวงหาเทคนิควิธีหรือความรู้ใหม่ๆ นำมาสู่การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ราคาประหยัด แต่มีคุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ และเพื่อให้ผล แห่งความก้าวหน้าอันมาจากความเพียรพยายามของคณาจารย์ ได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน อย่างแท้จริง คณะเกษตรศาสตร์ จึงส่งเสริมให้เกิดงานด้านการบริการวิชาการสู่ชุมชน ทั้งรูปแบบการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา และการศึกษาดูงาน ของเกษตรกรมีการจัดทำเอกสารคู่มือและสื่อการเรียนรู้ที่เกษตรกรจะนำไปศึกษา เพื่อพัฒนางานของตนเองต่อไป เพื่อให้พันธกิจของคณะเกษตรศาสตร์มีความสมบูรณ์ตามทิศทางของการพัฒนามหาวิทยาลัย

Structural components
Thesis/Dissertation
Industry partners
Laboratory training
Practical/Field work
Language training
Research Project

ISCED Categories

Project management
Personal skills and communication
Ocean Literacy
Logistics and shipping management
Biology
Ecology
Conservation and environmental management
Surveying
Fisheries
Policy and governance
Marine and maritime law
Biology
Biotechnology
Ecology
Conservation and environmental management
Statistics
Aquaculture
Fisheries