Skip to main content
x

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาชาชีววิทยาประมง (Bachelor of Science (Fisheries) - Fishery Biology )

Type
Bachelor (ISCED 2011 level 6)
Language

Thai

Duration 8 semesters
Cost 34600 Baht/Year

ประวัติภาควิชา

ภาควิชาชีววิทยาประมง เป็น 1 ใน 5 ภาควิชาที่สอนของคณะประมงที่ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งคณะประมงและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 ทั้งนี้เพื่อเป็นการสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ของคณะประมง ที่ว่า"คณะประมงเป็นสถาบันแห่งความเป็นเลิศ ทางวิชาการในสาขาประมง แหล่งน้ำ และทรัพยากรมีชีวิตในแหล่งน้ำ" ภาควิชาจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำบทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการและการแก้ไขปัญหาด้านการประมง

ปณิธาน วัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์

ภาควิชาชีววิทยาประมงมีการตั้งปณิธาน วัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการผลิตบัณฑิตในสาขาประมงที่มีความรู้ความเข้าใจในทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำตลอดจนบทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการและการแก้ไขปัญหาทางด้านการประมงและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืน

โครงสร้างของภาควิชา

ภาควิชาชีววิทยาประมงมีการเรียนการสอนซึ่งได้มีการจัดแบ่งหมวดสาขาวิชาการออกเป็น 5 หมวดวิชา ได้แก่

1. หมวดวิชาทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพทางน้ำ (Aquatic Bioresources and Biotechnology)

จัดการเรียนการสอนทางด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำ ทั้งพืชและสัตว์ในระบบนิเวศน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล

2. หมวดวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Aquatic Ecology and Environment)

จัดการเรียนการสอนทางด้านนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำ ชลธีวิทยา พื้นที่ชุ่มน้ำ สิ่งมีชีวิตที่เป็นดัชนีบ่งชี้ลักษณะและคุณภาพของแหล่งน้ำ สภาวะแวดล้อม การประเมินกำลังผลิตเบื้องต้นของแหล่งน้ำ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

3. หมวดวิชาสรีรวิทยาสัตว์น้ำและพิษวิทยา (Aquatic Animal Physiology and Toxicology)

จัดการเรียนการสอนทางด้านสรีรวิทยาของสัตว์น้ำ การเปลี่ยนแปลงทางสรีระที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมและสารพิษ รวมทั้งการศึกษาพิษวิทยาของสารพิษชนิดต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ ปัญหามลพิษของแหล่งน้ำ และการแก้ไขปัญหามลพิษ

4. หมวดวิชาสุขภาพสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Health)

จัดการเรียนการสอนทางด้านโรคและปรสิตของสัตว์น้ำ การศึกษาพยาธิสภาพของสัตว์น้ำที่ติดโรค การป้องกันการระบาดของโรคและปรสิต ในสัตว์น้ำ

5. หมวดวิชาพลวัติการประมง (Fishery Dynamics)

จัดการเรียนการสอนทางด้านชีววิทยาประมงของทรัพยากรประมง การเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำ การสร้างตัวแบบทาง ชีวคณิตศาสตร์และชีวสถิติ เสริมงานด้านระเบียบวิธีวิจัย และเทคนิคการวิจัยทาง ชีววิทยาประมง และพลวัติการประมง

หลักสูตรการศึกษา

ภาควิชาชีววิทยาประมงมีระดับการเรียนการสอน 3 ระดับ คือ ในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ภาควิชาได้จัดการฝึกงานในสนามแก่นิสิตระดับปริญญาตรี 2 ครั้ง คือ การฝึกงานด้านทะเล และน้ำจืด เป็นระยะเวลาครั้งละ 1 เดือน เพื่อให้นิสิตเพิ่มพูนความรู้ทักษะและประสบการณ์ ตลอดจนการใช้ชีวิตร่วมกันเป็นหมู่คณะในต่างจังหวัดก่อนนิสิตจะจบการศึกษา

ศูนย์วิจัยภายใต้ภาควิชาชีววิทยาประมง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรชีวภาพสาหร่าย (Algal Bioresources Research Center)

ศูนย์วิจัยธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Business Research Center)

หน่วยงานที่ทำหลังจากสำเร็จการศึกษา

หน่วยงานราชการ (นักวิชาการประมง นักวิจัย อาจารย์)

  1. กรมประมง
  2. กรมควบคุมมลพิษ
  3. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  4. สถาบันอุดมศึกษา
  5. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  6. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
  7. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานเอกชน (นักวิชาการ พนักงานส่งเสริมการขาย)

  1. บริษัทที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจสัตว์น้ำ เช่น บริษัท ซีพีเอฟ
  2. บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม
  3. สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น Mekong Under water World, Siam Ocean World
Structural components
Thesis/Dissertation
Laboratory training
Practical/Field work
Language training
Research Project

ISCED Categories

Project management
Personal skills and communication
Ocean Literacy
Biology
Biotechnology
Toxicology
Ecology
Statistics
Aquaculture
Fisheries
Veterinary sciences